เตือนภัย! เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล บุกทำลายต้นข้าว
สวัสดีครับ
วันนี้ผมมีเรื่องราวเกี่ยวกับศัตรูตัวร้ายของเกษตรกรชาวนา นั่นก็คือ "เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล" แมลงตัวเล็กจิ๋วสีน้ำตาลที่สร้างความเสียหายให้กับต้นข้าวของเราได้อย่างมาก
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนด่า เพศเมียวางไข่ประมาณ 100 ฟอง (เน้นการเคลื่อนที่ไปแปลงใหม่) และชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง (เน้นการลงทำลายในพื้นที่) ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับทาบใบข้าว
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำลายต้นข้าวทั้งทางตรงและทางอ้อม
- โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย บริเวณโดนต้นข้าวระดับเหนือผิวนํ้า ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกนํ้าร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก "อาการไหม้" (hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง
- เพลียกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็น พาหะน่าเชื้อไวรัส โรคใบหงิก (rice raggedstunt) เมาสู่ดินข้าวทําให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ข้ากว่าปรกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียว
วิธีการป้องกัน/กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- ใช้พันธุ์ต้านทาน และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก
- หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
- กำจัดวัชพืชรอบๆแปลง เนื่องจากเป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ย
- ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 1 กก. (เชื้อสด) ต่อน้ำ 20 ลิตร
- การใช้สารเคมี ☠️ ในการป้องกันกำจัด #เมื่อพบจํานวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่า 10 ตัวต่อกอ
ปัจจุบันสารที่มีประสิทธิภาพสูง ☠️ ได้แก่ สารไพมีโทรซีน (กลุ่ม 9B) และสารฟลอมิดามิด (กลุ่ม29) รองลงมาได้แก่สารบูโพรเฟชิน (กลุ่ม16), สารอิทิโพล (กลุ่ม2) สารในกลุ่ม 4 เช่น ไดโนทีฟูแรน อิมิดาคลอพริด ไทอะมีโทแซม และสารในกลุ่ม 1 เช่น ไอโซโพคาร์บ ฟีโนบูคาร์บ เป็นต้น
แหล่งข้อมูล
- กรมส่งเสริมการเกษตร: http://www.ppsf.doae.go.th/pest_management/index_rice/brown_planthopper/brown_planthopper.html
- ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร: http://www.ppsf.doae.go.th/pest_management/index_rice/brown_planthopper/brown_planthopper.html
อย่าลืมดูแลแปลงปลูกข้าวของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รักษาผลผลิตให้สมบูรณ์
ปล. แชร์โพสต์นี้เพื่อเป็นความรู้แก่เพื่อนๆ เกษตรกรด้วยนะครับ