วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Esri map ทำแผนที่แล้วแชร์ให้เพื่อน ๆ ทำยังไง ไปดู!!!

Esri map ทำแผนที่แล้วแชร์ให้เพื่อน ๆ ทำยังไง ไปดู!!!     

    สวัสดีครับ ผมขอเล่าเรื่องราวที่ได้ไปลงพื้นที่เมื่อสัปดาห์ก่อนให้ฟังหน่อยนะครับ ในฐานะนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ผมได้มีโอกาสไปสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเค็ม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อการทำการเกษตรของพี่น้องเกษตรกร

    ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ เรามีการแบ่งทีมออกเป็นหลายชุดเพื่อเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่ละทีมจะไปเก็บพิกัดตำแหน่งต่าง ๆ พร้อมบันทึกข้อมูลพื้นฐานของแต่ละจุด เช่น ชื่อและที่อยู่ของเกษตรกร ประเภทการทำเกษตร ความเสียหายที่ได้รับจากน้ำเค็ม เป็นต้น

    พอทุกทีมเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว ผมเองก็อยากเห็นภาพรวมว่าใครไปทำอะไรที่ไหนบ้าง เลยเกิดไอเดียที่จะนำข้อมูลมาใส่ใน Esri map เพื่อแสดงเป็นจุด ๆ บนแผนที่ และแชร์ให้คนอื่น ๆ เห็นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้เราเห็นการกระจายตัวของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


เอาล่ะ ผมจะมาแชร์เทคนิคการใช้ Esri map ให้ฟังแบบเป็นขั้นตอนเลยนะ ใครผ่านเข้ามาดู ก็เอาไว้ลองใช้กันได้ 


เข้ามาที่เว็บ https://www.arcgis.com/index.html หน้าตาจะประมาณ นี้



จากนั้น ก็สมัครและ login ให้เรียบร้อย การสมัครก็แสนง่าย มีกรอกข้อมูลนิดหน่อย


เข้ามาแล้ว ก็จะได้แบบนี้ แล้วกดเข้าไปที่ ส่วนของ “แผนที่”




จากนั้นให้กด เพิ่ม > เรียกดูชั้นข้อมูล นะครับ



จากนั้นมาในส่วนของการเรียกดูชั้นข้อมูล โดยให้เลือกมาที่ Arcgis Online ครับ



แล้วมาที่ Arcgis Online แล้วค้นหาชั้นข้อมูลที่ต้องการ ตรงนี้ผมค้นคำว่า Thailand ผลก็ขึ้นมา เช่น ขอบเขตจังหวัด หรืออำเภอต่าง ๆ ในเว็บก็มีให้อยู่ เราก็กดเพิ่มข้อมูลได้เลย



จากนั้นมาในส่วนของชั้นข้อมูล (1) เราก็จะเจอข้อมูลที่เราเพิ่มไว้เมื่อกี้ (2) เมื่อเราเลือกชั้นข้อมูลเช่นผมกดเลือก ขอบเขตอำเภอ เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบ สี เส้นขอบ ได้ในส่วนของ สไตล์ (3) และ (4)



จากนั้นก็ปรับรูปแบบตามที่เราต้องการครับ โดยมาก จะทำให้สีใส เหลือแต่เส้นขอบ เพื่อให้ดูง่าย



ก็จะได้ประมาณนี้ครับ 


 ต่อไป คือการ นำเข้าไฟล์ต่าง ๆ จากภายนอก ในรูปแบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ไฟล์ CSV หรือ GeoJson หรือ shape file




จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมา เราก็เลือกไฟล์จากในเครื่องได้เลยครับ



ตัวอย่างใน case นี้ คือ จุดพิกัดที่เจ้าหน้าที่ กว่า 50 คน กระจายไปประชาสัมพันธ์และเก็บข้อมูล กรณีน้ำเค็มรุกพื้นที่การเกษตร เป็นการกรอก google form ข้อมูลพื้นฐาน รวมถึงพิกัด รวมแล้วได้ ประมาณ 350 จุด ภายใน 3 วันทำการ

จากนั้น ก็โหลดผลการบันทึก google form มาเป็นไฟล์ excel แต่ปัญหาคือ เก็บพิกัดมาเป็น XY อาจจะต้องแปลงเป็น lat long ซึ่งวิธีการแปลงจำนวน 350 จุดทีเดียว ก็แสนง่ายครับ โดยการโหลดไฟล์ excel จาก https://giscrack.com/download-excel-template-convert-geographic-coordinates-utm/

จากนั้นก็แปลงไฟล์ excel เป็น CSV เพื่อเตรียมนำเข้าใน map



พอนำเข้ามาแล้ว ตัวโปรแกรมจะถามถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในแผนที่ ตรงนี้ก็จะอ้างตาม column ที่อยู่ในไฟล์ Excel ที่แปลงเป็น CSV   ก็จะเห็นว่า ระบบ มองเห็น column ต่าง ๆ ในไฟล์ของเรา ร่วมทั้ง column ที่เป็น พิกัด lat long จากนั้นให้กด ถัดไป



แล้วระบบสามารถรู้ได้เอง แต่ก็จะถามว่า ใช้ละติจูด จาก collumn หรือ field ที่ชื่อว่า latitude ใช่ไหม เราก็ถัดไปได้เลย




จากนั้นก็ตั้งชื่อไฟล์ และโฟดอร์ ที่จะไปเก็บไว้ จากนั้นก็กดสร้างและเพิ่มลงแผนที่ได้เลย



มาแล้วววววว จุดในพื้นที่ของเรา สามารถไปแก้ไขรูปแบบ(1) + (2)



แต่ถ้าอยากให้จำแนกรูปแบบ ให้ไปกดเพิ่มฟิลด์



จากนั้น มาเลือกว่าจะใช้อะไรเป็นตัวจำแนก ในเคสนี้ ผมเลือกให้จำแนกโดยอำเภอ ถ้าต่างอำเภอกันให้สีต่างกัน  ก็จะได้แบบนี้ ในตัวอย่าง มีการเก็บข้อมูลอำเภอมาด้วย จึงเลือกแบ่งสีด้วยอำเภอ แต่จะมีจุดสำเทา ๆ อยู่ จุดเหล่านั้น ไม่มีค่าอำเภอ เพราะตอนเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเกษตรกร เราไม่ได้เก็บข้อมูลอำเภอด้วยใน google form




ต่อมาเป็นการปรับการแสดงผล เวลาเรากดที่จุดต่าง ๆ (1) ซึ่งค่าเหล่านี้ (2) จะเรียงตาม column ใน ไฟล์ Excel ที่เรามีในตอนแรก(ก่อนที่จะแปลงเป็น CSV) เราสามารถมาขขยับได้ในเมนู popup (3) แล้วมาตรงรายการฟิลด์ (4) จากนั้นมาลากสิ่งที่ต้องการให้แสดง ก่อน-หลังหรือ บน-ล่าง ในส่วนที่ (5)



หรือจะเปลี่นยชื่อที่แสดงในหน้าต่าง popup ก็ได้ โดยมาเลือกเมนู ฟิลด์(1) จากนั้นเลือกสิ่งที่ต้องการเปลี่ยน (2) และเปลี่ยนในช่องที่ขึ้นมา (3)



ต่อไปเป็นการทำป้ายชื่อของแต่ละจุดในแผนที่ ทำได้โดยการไปกดที่เมนู ป้ายชื่อ (1) จากนั้นเลือกฟิลด์ (2) ว่าอยากให้แสดงผลอย่างไร ในเคสนี้ ให้แสดงผลเป็นชนิดพืชของแต่ละตำแหน่งที่เก็บข้อมูลมา



ทำเสร็จแล้วอย่าลืมบันทึกแผนที่ โดยไปที่เมนู บันทึกและเปิด จากนั้นกดจัดเก็บ เพื่อ save แผนที่ของเราไว้



สำหรับไฮไลท์เด็ด คือการแชร์แผนที่ สู่สาธารณะ ให้ใครดูก็ได้ โดยกดไปที่แชร์แผนที่



จากนั้นกดที่ ทุกคน(สาธารณะ)




แชร์แล้วไงต่อ?? เราก็เอา URL หรือ ลิ้งค์ด้านบน ไปให้เพื่อน ๆ ดูได้เลยครับผม คนที่ดูก็ไม่ต้อง login เข้าสู่ระบบก็ได้ ตัวอย่างดังนี้ https://www.arcgis.com/apps/mapviewer/index.html?webmap=97dea5c949f74279a49678814d9e95a3

คนที่เข้ามาดู สามารถเพิ่มชั้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ หรือเปลี่ยนการแสดงผลในแผนที่ได้ เช่น เปลี่ยนแผนที่ฐานเป็นภาพถ่ายดาวเทียม เปลี่ยนการแบ่งสีของจุดต่าง ๆ แต่เขาจะไม่สามารถบันทึกได้ ถ้าปิดแล้วเปิดลิ้งค์ใหม่ ก็จะได้ผลแบบเดิม ที่เจ้าของแผนที่ทำเอาไว้

.

.

.

เพิ่มเติม สำหรับการเข้าไปดูเนื้อหาต่าง ๆ ที่เราเพิ่มใส่แผนที่เอาไว้ หรือเข้าไปจัดการไฟล์ต่าง ๆ โดยเข้าไปที่ปุ่ม 3ขีด (1) มุมบน แล้วเลือกไปที่เนื้อหา (2)



ดังภาพ ก็จะมีไฟล์ต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามาในระบบ ไฟลรูปแบบต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบ(1) รวมถึงสถานะความเป็นส่วนตัว (2)



จริง ๆ เราสามารถสร้าง หรือปรับแต่ง เนื้อหาได้หลายรูปแบบมาก ๆ สามารถสร้างเป็น application ได้ด้วย มีฟังก์ชันต่าง ๆ อีกมากมาย ไว้โอกาสหน้า จะมาแบ่งปันอีกครับ


เขียนและเรียบเรียงโดย เกษตรตำบล

facebook : เกษตรตำบล คนใช้แรงงาน 

https://www.facebook.com/RebelliousKasetTambon




วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เตือนภัยการระบาดของไรแดงในมันสำปะหลัง

เตือนภัยการระบาดของไรแดงในมันสำปะหลัง

ไรแดง เป็นแมลงศัตรูพืชสำคัญของมันสำปะหลัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบ ทำให้ใบมันสำปะหลังเกิดจุดประด่างขาว ⚪️ ขยายแผ่กว้าง ใบมีสีขาวซีด ใบกระด้าง กรอบ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการสร้างหัวของมันสำปะหลัง

แนวทางการป้องกันกำจัดไรแดง ‍‍

1. การป้องกัน

  • หมั่นตรวจแปลงมันสำปะหลังเป็นประจำ ️‍♀️️‍♂️
  • เก็บใบมันสำปะหลังที่พบไรแดงมาทำลาย ️

2. การกำจัด ⚔️

  • กรณีที่มีการระบาดรุนแรง
    • เลือกใช้สารป้องกันกำจัดไรชนิดใดชนิดหนึ่งและใช้ตามอัตราที่แนะนำ
      • เอกซีไทอะซอกซ์ 1.8% EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
      • ทีมเฟนไพแรด 36% EC อัตรา 5-10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
      • ไพริดาเบน 20% WP อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
      • ไขฟลมิโทเฟน 20% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
      • สไปโรมิซิเฟน 24% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
      • เฟนบูทาดิน ออกไซด์ 55% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
    • พ่นเมื่อพบไรแดงทำลายบริเวณใบส่วนยอดและใบส่วนล่างเริ่มแสดงอาการเหี่ยว
    • พ่นให้ทั่วทั้งต้น ใต้ใบ และบนใบ 1-2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน
    • ควรพ่นให้ทั่วบริเวณใต้ใบและหลังใบ และพ่นสารเฉพาะบริเวณที่พบการทำลายของไรเท่านั้น
    • ไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรสลับชนิดสารเพื่อป้องกันการดื้อทานต่อสารของแมลง

แหล่งข้อมูล

หมายเหตุ

  • ข้อมูลในโพสต์นี้นำมาจากเอกสารเตือนภัยการระบาดของไรแดงในมันสำปะหลังของกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี
  • เกษตรกรควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากของสารป้องกันกำจัดไรอย่างเคร่งครัด
  • เกษตรกรสามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่

หวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรทุกท่านนะครับ ‍‍

#ไรแดง #มันสำปะหลัง #การเกษตร #เตือนภัย #เกษตรกร

 

Esri map ทำแผนที่แล้วแชร์ให้เพื่อน ๆ ทำยังไง ไปดู!!!

Esri map ทำแผนที่แล้วแชร์ให้เพื่อน ๆ ทำยังไง ไปดู!!!            สวัสดีครับ ผมขอเล่าเรื่องราวที่ได้ไปลงพื้นที่เมื่อสัปดาห์ก่อนให้ฟังหน่อยนะคร...