โรคราสนิมในถั่วฝักยาว
ภัยร้ายทำพืชผักเสียหาย! เกษตรกรต้องรู้จักป้องกัน
สวัสดีครับ เกษตรกรทุกท่าน วันนี้ผมมีเรื่องสำคัญมาแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคร้ายที่กำลังระบาดในถั่วฝักยาว นั่นคือ โรคราสนิม โรคนี้สร้างความเสียหายให้กับพืชผักของเราได้มาก ถ้าไม่รีบป้องกัน อาจทำให้ผลผลิตของเราลดลง
ลักษณะอาการของโรคราสนิม
- พบมากในระยะถั่วฝักยาวเริ่มออกดอก
- มักเกิดกับใบแก่ด้านล่างของลำต้นก่อนแล้วลามขึ้นด้านบน
- พบมากบริเวณด้านใต้ใบ
- อาการเริ่มแรกเป็นแผลจุดสีเหลืองซีด
- ต่อมาตรงกลางแผลเป็นตุ่มนูนสีน้ำตาลแดง
- รอบแผลมีสีเหลือง
- ตุ่มนูนจะขยายใหญ่แล้วปริแตกออก เห็นเป็นผงสีน้ำตาลแดงคล้ายสีสนิม
- เมื่ออาการรุนแรงจะพบแผลกระจายทั่วทั้งใบ ทำให้ใบเหลืองและหลุดร่วง
สาเหตุของโรคราสนิม
- เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปกับลม เข้าทำลายพืชอาศัย และมีชีวิต อยู่รอด ได้นานหลายปี
- โรคราสนิมจะระบาดได้ดี หากพืชอยู่ในสภาวะไม่เหมาะสมบางประการ เช่น แห้งแล้ง เกินไป หรือชื้นแฉะเกินไป
- พืชได้รับไนโตรเจนสูงเกินไป หรือขาดปุ๋ยโปแตสเซียม
- หรือปลูกพืชแน่นเกินไป
- โรคมักเกิดในช่วงอากาศเย็น คือปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว
วิธีป้องกันและกำจัดโรคราสนิม
1. ไม่ปลูกพืชจนแน่นเกินไป ควรปรับระยะปลูกให้มีการถ่ายเทของอากาศและมีแสงแดดส่องผ่านแปลงปลูกได้
2. กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดการเกิดโรค
3. เมื่อเริ่มพบโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
- คลอโรทาโลนิล 50% เอสซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไตรอะติมีฟอน 20% อีซี อัตรา 10-15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- อะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล 20% + 12.5% เอสซี อัตรา 10-20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
ทุก 7 วัน
4. กำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรค โดยนำไปเผานอกแปลงปลูก
5. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค เมื่อสิ้นสุดฤดูปลูก ควรเก็บต้นไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
แหล่งข้อมูล
มีอะไรสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
- กลุ่มอารักขาพืช สํานักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี
- โทรศัพท์ : 0 3827 1697